วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คณะผู้จัดทำ


ขอขอบคุณ อาจารย์ โสภิณ        คชเสนีย์ ที่ให้คำแนะนำ






คณะผู้จัดทำ

1.นาย กิตติวัฒน์                 ดิษฐประเสริฐ               เลขที่ 10
2.นางสาว เมธาวี                พงษ์ประไพ                  เลขที่ 27
3.นางสาว รัตนชาติ            พันธ์พงษ์วงศ์               เลขที่ 29
4.นางสาว ศิริพร                 ดวงแย้ม                       เลขที่ 32
5.นางสาว สุภาพร              ลิมปิฐาภรณ์                 เลขที่ 34
6.นางสาว อรศุภางค์          คงพิทักษ์                     เลขที่ 35
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2


วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Quiz Biological diversity of plants


จงศึกษาตาราง แล้วตอบคำถามข้อ1 และ 2
พืชประเภทที่1

พืชประเภทที่2
พืชประเภทที่3
พืชประเภทที่4
พืชประเภทที่5
มีดอก
ไม่มีดอก
ไม่มีดอก
ไม่มีดอก
มีดอก
มีเมล็ด
ไม่มีเมล็ด
ไม่มีเมล็ด
มีเมล็ด
มีเมล็ด
มีระบบท่อลำเลียง
ไม่มีระบบท่อลำเลียง
ไม่มีระบบท่อลำเลียง
มีระบบท่อลำเลียง
มีระบบท่อลำเลียง
เส้นใบเป็นร่างแห
มีใบ ราก ลำต้น
อย่างแท้จริง
ไม่มีใบ ราก ลำต้น
อย่างแท้จริง
มีใบ ราก ลำต้น
อย่างแท้จริง
เส้นใบขนานกับเส้นกลางใบ

1.พืชประเภทใดน่าจะจัดเป็นพวกเดียวกันได้
           1. 1 กับ 4
           2. 2 กับ 3
           3. 1 กับ 5
           4. 4 กับ 5


2.เฟินควรจัดอยู่ในพืชประเภทใด
          1. 2
          2. 3
          3. 1
          4. 1 และ 5


3.พืชชนิดหนึ่งมีลักษณะลำต้นแบบเลื้อยไม่มีใบหู ใบเป็นแบบ ใบเดี่ยว เส้นใบเป็นร่างแหออกดอกเดี่ยว กลีบดอกมี 5 กลีบ รังไข่อยู่ใต้กลีบดอก นักเรียนจะจำแนกพืชโดยใช้คีย์สำหรับพืชแบบใด
1.ไม้น้ำ                  2.พืชบก                                3.พืชใบเลี้ยงเดี่ยว                                4.พืชใบเลี้ยงคู่


4.มอสและเฟินเป็นพืชที่มีวงจรชีวิตแบบสลับเช่นเดียวกัน แต่มอสมีข้อแตกต่างจากเฟินคือ
1.Sporophyte เป็นอิสระและมีขนาดเล็ก
2. Sporophyte มีใบทำหน้าที่ในการสังเคราะห์ด้วยแสง
3. Gametophyte เป็นอิสระและมีขนาดเล็ก
4. Gametophyte อาศัยอยู่บน Sporophyte ตลอดชีวิต

5. สนทะเลถูกจัดอยู่คนละกลุ่มกับสนสองใบเนื่องจาก
1.สนทะเลมีใบเขียว สนสองใบมีสองใบ
2.สนทะเลขึ้นอยู่ตามทะเล สนสองใบขึ้นอยู่บนดอย
3.สนทะเลเป็น gymnosperm สนสองใบเป็น angiosperm
4.สนทะเลเป็น angiosperm สนสองใบเป็น gymnosperm


6.เมื่อท่านเดินเข้าไปในป่าวนอุทยานเขาใหญ่พบพืชต้นหนึ่งมีความสูง 3 เมตร ท่านสามารถทราบได้ทันทีว่าพืชต้นนั้นเป็นเฟินเพราะ
1.มีราก ลำต้น และใบประกอบที่แท้จริง
2.เห็น gametophytes บนก้อนหินใกล้ๆ
3.มี rhizome และไม่มีดอก
4.มีใบอ่อนม้วนคล้ายลานนาฬิกา


7.ถ้าท่านพบต้นไม้ชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์เขียนว่า Michelia alba ท่านคิดว่าดอกไม้นี้จะออกดอกสีใด
1.แดง                                     2.ชมพู                                   3.ขาว                                     4.เหลือง


8. Sporophyte ของมอสมีลักษณะพิเศษ คือ
1.อาศัยอยู่บน gametophyte ตลอดชีวิต
2.อาศัยอยู่บน gametophyte ระยะแรกของการเจริญเติบโต
3.อยู่เป็นอิสระบนพื้นดิน
4.มีช่วงชีวิตเป็น  diploid  ยาวนาน


9.ความหมายของ “double fertilization” ที่เกิดในดอกไม้หมายถึง
1.การผสมของ 2 sperm nuclei กับ egg nucleus
2.การผสมระหว่าง egg และ sperm ที่เกิดขึ้น 2 ครั้ง
3.การผสมที่มีผลทำให้เกิด embryo และ cotyledon ในเมล็ด
4.การผสมที่มีผลทำให้เกิด embryo และ endosperm ในเมล็ด


10.Endosperm เกิดมาจาก
1. fertilized egg
2.fertilized polar nuclei
3.female gametophyte
4.Scutellum


11.เกณฑ์ข้อใดที่นำไปใช้สร้างไดโคโตมัสตคีย์ได้
1.รากมีกรแตกแขนง-ลำต้นมีลักษณะเป็นหัว
2.ใบอ่อนม้วนขดเป็นวง-ใบอ่อนจีบคล้ายพัด
3.ขาเดินมีลักษณะเป็นข้อ-เคลื่อนที่โดยใช้กล้ามเนื้อผนังลำตัว
4.ผิวหนังมีเกล็ดห่อหุ้ม-โครงกระดูกเป็นกระดูดอ่อนตลอดชีวิต


12.ข้อใดเป็นลักษณะของพืชในดิวิชันไบรโอไฟตา
1.ไม่มีรากลำต้นใบที่แท้จริง ไม่มีระบบท่อลำเลียงแกมีโทไฟต์อาศัยอยู่บนสปอโรไฟต์
2.ไม่มีรากลำต้นใบที่แท้จริง มีวงจรชีวิตแบบสลับสปอโรไฟต์อาศัยอยู่บนแกมีโทไฟต์
3.มีรากลำต้นใบที่แท้จริง ไม่มีระบบท่อลำเลียงมีช่วงแกมีโทไฟต์โดดเด่น
4.ไม่มีระบบท่อลำเลียง มีวงจรชีวิตแบบสลับแกมีโทไฟต์และสปอโรไฟต์ เป็นอิสระต่อกัน






เฉลย
ข้อ 1   ตอบ  3.  เหตุผล 1 และ 5 เป็นพวกพืชดอก จัดอยู่ใน class angiosperm โดย 1 คือ พืชใบเลี้ยงคู่ และ5 คือ พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ข้อ 2   ตอบ 1. เหตุผล เฟินเป็นพืชไม่มีดอกไม่มีเมล็ด มี tracheid แต่ยังไม่มีระบบท่อลำเลียงที่ซับซ้อนเริ่มมีใบ ราก ลำต้นที่แท้จริง
ข้อ 3   ตอบ  4. เหตุผล เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ เพราะมีลักษณะต่างๆจากโจทย์เป็นลักษณะของพืชใบเลี้ยงคู่ทั้งนั้น
ข้อ 4   ตอบ  3. เหตุผล gametophyte ของมอสจะเป็นอิสระ และมีใบขนาดเล็ก ส่วนของต้น sporophyte ไม่เป็นอิสระเจริญอยู่บนต้น gametophyte
ข้อ 5   ตอบ  4. เหตุผล สนทะเลเป็นพวกพืชดอกเมล็ดมีเปลือกหุ้มจัดอยู่ในพวก angiosperm ส่วนสนสองใบนั้น เป็นพืชไม่มีดอกแต่มีเมล็ดที่เปลือยและจัดอยู่ในพวก gymnosperm
ข้อ 6   ตอบ  4. เหตุผล  ใบอ่อนของเฟินเรียกว่า frond มีลักษณะการม้วนแบบที่เรียกว่า circinate vernation คือ ใบอ่อนนี้จะม้วนจากปลายใบลงมายังโคนใบซ้อนๆกัน เมื่อใบอ่อนนี้แก่เข้าจะมีการคลายส่วนที่ม้วนออก
ข้อ 7   ตอบ  3. เหตุผล คำ alba แปลว่า สีขาว ดังนั้นต้นไม้ต้นนี้จะออกดอกที่มีสีขาวตามชื่อของสปีชีส์ในชื่อวิทยาศาสตร์
ข้อ 8   ตอบ  1. เหตุผล sporophyte ของมอสมีขนาดเล็กเจริญอยู่บน gametophyte ตลอดชีวิตและมีลักษณะเป็นก้านชูขึ้นมาสร้าง spore ได้
ข้อ 9   ตอบ  4. เหตุผล double fertilization เป็นการ fertilize ที่เกิดจาก sperm nucleus 2 ตัว โดยตัวหนึ่งผสมกับ egg ได้ zygote และอีกตัวหนึ่งผสมกับ polar nuclei ได้ endosperm
ข้อ 10   ตอบ  2. เหตุผล endosperm เกิดจากการผสมกันของ sperm nucleus (n) กับ polar nuclei (2n) จึงทำให้ endosperm มีโครโมโซมเป็น 3n
ข้อ 11   ตอบ  2. เหตุผล ในการจำแนกสิ่งมีชีวิตแบบใช้ไดโคโตมัสคีย์ จะใช้ลักษณะโครงสร้างเดียวกันแต่ต่างกันแยก เช่น ใบอ่อนม้วนขดเป็นวง ใบอ่อนจีบคล้ายพัด
ข้อ 12   ตอบ  2.

วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ชนิดของพืชดอก

พืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledon หรือ Liliopsida) เป็นชั้นหนึ่งในส่วนพืชดอกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งกลุ่มหนึ่ง ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นโลก และเป็นพื้ชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงอีกด้วย  พืชใบเลี้ยงเดี่ยววงศ์ใหญ่ที่สุด คือ กล้วยไม้ (Orchidaceae) โดยมีดอกที่ซับซ้อน และสวยงาม เพื่อดึงดูดแมลงชนิดต่างให้ช่วยในการผสมพันธุ์  ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีปริมาณมากเป็นอันดับสอง และอาจจะเป็นวงศ์ที่โดดเด่นกว่า ก็คือ หญ้า (Poaceae หรือ Gramineae) โดยมีวิวัฒนาการอีกทางหนึ่ง มีลักษณะพิเศษตือ การแพร่ขยายพันธุ์โดยอาศัยลม พืชในวงศ์หญ้านั้นมีดอกขนาดเล็ก แต่เมื่อรวมเป็นกลุ่มอาจปรากฏเป็นช่อดอกที่มองเห็นชัดเจนและสวยงาม
กล้วยไม้

กล้วย

พลับพลึง

พืชใบเลี้ยงคู่  (Dicotyledon) เป็นพืชที่เอ็มบริโอมีใบเลี้ยงสองใบ เส้นใบเป็นร่างแห รากเป็นระบบรากแก้วลำต้นมีข้อปล้องแต่เห็นไม่ชัดดอกมีจำนวนเป็น 4-5 หรือทวีคูณของ4-5 ตัวอย่างพืชใบเลียงคู่ เช่น กุหลาบ มะเขือ  มะม่วง ชบา ถั่ว

การใช้ประโยชน์จากพืชดอก                                                                                                                                                     
อาจกล่าวได้ว่าอาณาจักรพืช พืชดอกเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อการคงอยู่ของมนุษย์ชาติในแง่ของการดำรงชีวิต และหากพิจารณาลึกซึ้งลงไปแล้วจะพบว่า แหล่งอารยธรรมของโลกก็เป็นแหล่งที่มีพืชดอกหลายชนิดที่เอื้อให้เกอดความเจริญทางด้านวัฒนธรรมดังกล่าว เช่น ข้าว ในอินเดียและเอเชียตะวันออกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ม ข้าวบาร์เล่ย์ ข้าวสาลีในเมโสโปเตเมีย ข้าวโพดในแถบอเมริกา และพืนอื่นๆอีกเป็นต้น                                                                                                                                                                                                     

แหล่งทรัพยากรพืช                                                                                                                                
ในปัจจุบันประชากรมนุษย์ได้มีจำนวนมากขึ้นจึงเกิดความต้องการพื้นที่ในการเพาะปลูกและสร้างที่อยู่อาศัยมากขึ้น ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ของพืชเป็นอย่างมาก ความหลากหลายสปีชีส์ของพืชเป็นทรัพยากรที่ไม่สามารถสร้างมาทดแทนได้ และยังมีผลทำให้สัตว์และแมลงในป่าชื้นเขตร้อนสูญพันธุ์ตามไปด้วย ได้มีการวิจัยพบว่าการทำลายแหล่งที่อยู่ในป่าชื้นเขตร้อนและระบบนิเวศในบริเวณนี้เป็นการคุกคามสิ่งมีชีวิตประมาณ 100 สปีชีส์ต่อไป ในขณะที่มนุษย์มีการทำลายป่าชื้นเขตร้อน ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์ที่อาศัยในแหล่งที่อยู่นั้น แต่มนุษย์ยังมีความต้องการผลผลิตจากพืชมากกว่า 1000 สปีชีส์ เพื่อนำมาเป็นอาหาร วัตถุดิบต่างๆและนำมาเป็นยาอีกด้วย                                                                                                                    ได้มีการวิจัยพบว่าพืชในป่าชื้นเขตร้อนเป็นพืชสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในประเทศไทยมีการนำสมุนไพรมาใช้เป็นยาประจำบ้านตั้งแต่สมัยโบราณ  และในปัจจุบันได้มีการส่งเสริมการนำสมุนไพรดังกล่าวมาใช้ในการผลิตยาเพื่อการค้าอีกด้วย  ดังนั้นจึงควรมีการรณรงค์ป้องกันการทำลายป่าชื้นเขตร้อนเพื่อป้องกันการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต และควรตระหนักว่าการทำให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่การเกิดสปีชีส์ขึ้นมาใหม่นั้นเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ดังนั้นควรทำอย่างไรจึงจะเป็นการอนุรักษ์ความหลากหลายของพืชไว้ในโลกนี้


ไฟลัมแอนโทไฟตา (Phylum Anthophyta)


                                                                                                       

             ไฟลัมแอนโทไฟตา (Phylum Anthophyta)เป็นพืชมีดอก มีความหลากหลายมากที่สุดใน อาณาจักรพืช ไฟลัมนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ พืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว                                                                               
ไฟลัมแอนโทไฟตา ( Anthophyta )
  • มีวิวัฒนาการสูงที่สุดในพวกพืชมีท่อลำเลียง
  • มีราก ลำต้น ใบที่แท้จริง
  • มีระบบลำเลียงเจริญดี มีท่อลำเลียงน้ำ ( Xylem ) และท่อลำเลียงอาหาร (Phloem)
  • มีดอกเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ เมล็ดมีรังไข่ห่อหุ้ม
  • การปฏิสนธิ เป็นแบบซ้อน Double Fertilization การปฏิสนธิ 2 ครั้ง
ตัวอย่าง พืชมีดอก แยกได้ออกเป็น พืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
พืชใบเลี้ยงคู่
พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
1.มีใบเลี้ยง 2ใบ
2.เส้นใบเป็นแบบร่างแห
3.ใบเลี้ยงชูเหนือพื้นดิน
4.ระบบรากแก้ว
5.ระบบท่อลำเลียงเป็นวงรอบข้อ
6.กลีบเลี้ยง กลีบดอกเกสรตัวผู้ 4-5
7.รากจะมีท่อลำเลียงน้ำ
และท่อลำเลียงอาหาร 4 แฉก
8.มี Cambium และมีการเจริญทางด้านข้าง
1. มีใบเลี้ยง 1 ใบ
2. เส้นใบเรียงแบบขนาน
3. ใบเลี้ยงไม่ชูเหนือพื้นดิน
4. ระบบรากฝอย
5. ระบบท่อลำเลียงกระจัดกระจาย
6. กลีบเลี้ยง กลีบดอกเกสรตัวผู้ 3
7. รากากจะมีท่อลำเลียงน้ำ
และท่อลำเลียงอาหารมากกว่า 4 แฉก
8. ไม่มี Cambium และไม่มีการเจริญทางด้านข้าง


พืชดอก


                                                                                                                                                                                     

              พืชดอก   ลักษณะพืชมีดอกมีลักษณะที่สำคัญ คือ พืชที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว  มีดอกและอาศัยดอกสืบพันธุ์  โดยใช้ดอกเป็นที่เกิดการปฏิสนธิระหว่างไข่กับเกสรตัวผู้  แล้วเกิดเป็นต้นอ่อนขึ้นภายในเมล็ด   ซึ่งจะงอกเป็นพืชต้นใหม่ต่อไป ซึ่งเราจัดเป็นพืชชั้นสูงพืชมีดอกส่วนใหญ่เป็นพืชที่พบเห็นได้ทั่วไป  เช่น มะลิ  กุหลาบ  มะม่วง  ชบา  ตำลึง ถั่ว  มะละกอ  เป็นต้น  พืชมีดอกบางชนิดนักเรียนอาจไม่เคยเห็นดอกเลย เนื่องจากมีขนาดเล็กมาหรือใช้เวลานานหลายปีกว่าจะออกดอก เช่น ไผ่  ตะไคร้ โกสน  เป็นต้น
          ส่วนประกอบของพืชดอก                                                                                                                                                                         
              พืชดอก หมายถึง พืชที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีดอกให้เห็น  พืชดอกจัดเป็นพืชชั้นสูงที่มีอวัยวะต่าง ๆ  ครบสมบูรณ์ คือราก  ลำต้น  ใบ  ตา  ดอก ผล และเมล็ดมีไว้เพื่อสำหรับขยายพันธุ์พืชดอกมีอยู่ทั่วไปหลายชนิดมีทั้งที่ขึ้นอยู่บนบกและอยู่ในน้ำ  ได้แก่
-  พืชดอกที่อยู่บนบก  ได้แก่  มะม่วง  ชบา  กุหลาบ มะเขือ มะขาม มะพร้าว ฟักทอง  มะละกอ มะลิ  มะกอก
-  พืชดอกที่อยู่ในน้ำ  ได้แก่  บัว  สันตะวา  ผักตบชวา  ผักบุ้ง ผักกระเฉด  จอก  แหน  พืชดอกแบ่งได้  2  ประเภท
           1. พืชยืนต้น คือพืชที่มีอายุยืนส่วนต่างๆ  ของลำต้นสามารถเจริญเติบโตได้ตลอดอายุ  ออกดอกออกผลได้หลายครั้ง  เช่น  ยางพาราและไม้ผล  ต่าง ๆ พวกมะม่วง มะพร้าว มะขาม  กระท้อน  เป็นต้น
           2.พืชล้มลุก  คือพืชที่มีการเจริญเติบโตเพียงแต่ออกดอกออกผลในระยะเวลาอันสั้นแล้วก็ตาย  พืชล้มลุกที่จำเป็นสำหรับมนุษย์มากได้แก่  พืชจำพวกผักต่าง ๆ  ผักกาด  ผักชี  ต้นหอม  กะหล่ำปลี  บวบ  ฟักทอง ฯลฯ
          ดอกและส่วนประกอบของดอก
1.กลีบเลี้ยง  เป็นส่วนที่อยู่ชั้นนอกสุดของดอก  มีหน้าที่หุ้มและป้องกันดอกอ่อน
2.กลีบดอก เป็นส่วนที่ถัดเข้าไป มีกลิ่นหอม มีสีสวยงาม  ทำหน้าที่ล่อแมลงให้ผสมเกสร
3. เกสรตัวผู้  ประกอบด้วยอับละอองเกสรตัวผู้ เพื่อสร้างละอองเกสรตัวผู้เรียงเป็นวง
4. เกสรตัวเมีย เป็นส่วนที่อยู่ชั้นในสุดของดอก ซึ่งประกอบเป็น  3  ส่วน คือ  เกสรตัวเมีย  รังไข่และไข่อ่อน
             ดอกแบ่งออกเป็น  4  ประเภท คือ
1.ดอกสมบูรณ์  คือดอกที่มีส่วนประกอบของดอกครบทั้ง  4  ขั้นคือ กลีบเลี้ยง  กลีบดอก  เกสรตัวผู้  เกสรตัวเมีย
2.ดอกไม่สมบูรณ์ คือดอกที่ขาดส่วนประกอบบางชั้นไป  ทำให้มีเพียง  1 , 2 หรือ 3  ชั้น  เช่น  ดอกมะละกอ  ดอกหน้าวัว
3.ดอกสมบูรณ์เพศ  คือดอกที่มีชั้นของเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียครบถ้วน แต่อาจมี   กลีบดอกหรือกลีบเลี้ยงในชั้นใดชั้นหนึ่งก็ได้
4.ดอกไม่สมบูรณ์เพศ คือดอกที่มีชั้นของเกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมีย เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น โดยอาจจะมีชั้นของกลีบดอกและกลีบเลี้ยงครบถ้วน
ส่วนประกอบของดอก