วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ชนิดของพืชดอก

พืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledon หรือ Liliopsida) เป็นชั้นหนึ่งในส่วนพืชดอกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งกลุ่มหนึ่ง ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นโลก และเป็นพื้ชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงอีกด้วย  พืชใบเลี้ยงเดี่ยววงศ์ใหญ่ที่สุด คือ กล้วยไม้ (Orchidaceae) โดยมีดอกที่ซับซ้อน และสวยงาม เพื่อดึงดูดแมลงชนิดต่างให้ช่วยในการผสมพันธุ์  ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีปริมาณมากเป็นอันดับสอง และอาจจะเป็นวงศ์ที่โดดเด่นกว่า ก็คือ หญ้า (Poaceae หรือ Gramineae) โดยมีวิวัฒนาการอีกทางหนึ่ง มีลักษณะพิเศษตือ การแพร่ขยายพันธุ์โดยอาศัยลม พืชในวงศ์หญ้านั้นมีดอกขนาดเล็ก แต่เมื่อรวมเป็นกลุ่มอาจปรากฏเป็นช่อดอกที่มองเห็นชัดเจนและสวยงาม
กล้วยไม้

กล้วย

พลับพลึง

พืชใบเลี้ยงคู่  (Dicotyledon) เป็นพืชที่เอ็มบริโอมีใบเลี้ยงสองใบ เส้นใบเป็นร่างแห รากเป็นระบบรากแก้วลำต้นมีข้อปล้องแต่เห็นไม่ชัดดอกมีจำนวนเป็น 4-5 หรือทวีคูณของ4-5 ตัวอย่างพืชใบเลียงคู่ เช่น กุหลาบ มะเขือ  มะม่วง ชบา ถั่ว

การใช้ประโยชน์จากพืชดอก                                                                                                                                                     
อาจกล่าวได้ว่าอาณาจักรพืช พืชดอกเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อการคงอยู่ของมนุษย์ชาติในแง่ของการดำรงชีวิต และหากพิจารณาลึกซึ้งลงไปแล้วจะพบว่า แหล่งอารยธรรมของโลกก็เป็นแหล่งที่มีพืชดอกหลายชนิดที่เอื้อให้เกอดความเจริญทางด้านวัฒนธรรมดังกล่าว เช่น ข้าว ในอินเดียและเอเชียตะวันออกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ม ข้าวบาร์เล่ย์ ข้าวสาลีในเมโสโปเตเมีย ข้าวโพดในแถบอเมริกา และพืนอื่นๆอีกเป็นต้น                                                                                                                                                                                                     

แหล่งทรัพยากรพืช                                                                                                                                
ในปัจจุบันประชากรมนุษย์ได้มีจำนวนมากขึ้นจึงเกิดความต้องการพื้นที่ในการเพาะปลูกและสร้างที่อยู่อาศัยมากขึ้น ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ของพืชเป็นอย่างมาก ความหลากหลายสปีชีส์ของพืชเป็นทรัพยากรที่ไม่สามารถสร้างมาทดแทนได้ และยังมีผลทำให้สัตว์และแมลงในป่าชื้นเขตร้อนสูญพันธุ์ตามไปด้วย ได้มีการวิจัยพบว่าการทำลายแหล่งที่อยู่ในป่าชื้นเขตร้อนและระบบนิเวศในบริเวณนี้เป็นการคุกคามสิ่งมีชีวิตประมาณ 100 สปีชีส์ต่อไป ในขณะที่มนุษย์มีการทำลายป่าชื้นเขตร้อน ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์ที่อาศัยในแหล่งที่อยู่นั้น แต่มนุษย์ยังมีความต้องการผลผลิตจากพืชมากกว่า 1000 สปีชีส์ เพื่อนำมาเป็นอาหาร วัตถุดิบต่างๆและนำมาเป็นยาอีกด้วย                                                                                                                    ได้มีการวิจัยพบว่าพืชในป่าชื้นเขตร้อนเป็นพืชสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในประเทศไทยมีการนำสมุนไพรมาใช้เป็นยาประจำบ้านตั้งแต่สมัยโบราณ  และในปัจจุบันได้มีการส่งเสริมการนำสมุนไพรดังกล่าวมาใช้ในการผลิตยาเพื่อการค้าอีกด้วย  ดังนั้นจึงควรมีการรณรงค์ป้องกันการทำลายป่าชื้นเขตร้อนเพื่อป้องกันการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต และควรตระหนักว่าการทำให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่การเกิดสปีชีส์ขึ้นมาใหม่นั้นเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ดังนั้นควรทำอย่างไรจึงจะเป็นการอนุรักษ์ความหลากหลายของพืชไว้ในโลกนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น