วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ไฟลัมกิงโกไฟตา (Phylum Ginkgophyta)


ไฟลัมกิงโกไฟตา  พืชในไฟลัมนี้คือ แป็ะก๊วย (Ginko biloba) และสนปรง เรียกรวมกันว่า  พวกจิมโนสเปิร์ม (Gymnosperm) ซึ่งหมายถึงพืชมีเมล็ดแต่ไม่มีอะไรมาห่อหุ้มเมล็ด ใบกว้าคล้ายรูปพัด ชอบขึ้นในเขตหนาว เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี พืชชนิดนี้มีเมล็ดเปลือย (naked seed) ขนาดใหญ่ รับประทานได้ในรูปของหวาน          
            ลักษณะโดยทั่วไป                                                                                                                                                                               
            เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงประมาณ 30-40 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ลำต้นสีน้ำตาล เมื่ออายุมากขึ้นจะเกิดการเจริญขั้นที่สอง ใบคล้ายพัดจีน ใบเรียงตัวแบบสลับ (alternate) ใบมีลักษณะเฉพาะ คือเป็นร่องลึกบริเวณกลางใบทำให้เห็นเป็นสองพูอย่างชัดเจน จึงได้ชื่อว่าGinkgo biloba (two lobes) นั่นเอง ใบมีสีเขียวและจะเปลี่ยนเป็นสีทอง ในฤดูใบไม้ร่วง สวยงามมาก แป๊ะก๊วยมีอายุยืนนานหลายปี อาจถึงพันปี ซึ่งเคยพบอายุถึง 3,500 ปี          
            การสืบพันธุ์                                                                                                                                                                                         
            ต้นแป๊ะก๊วยที่พบทั่วไปเป็นต้นสปอร์โรไฟต์ที่แยกเพศ (dioecious) เหมือนกับ Gymnosperm ชนิดอื่นๆ ต้นตัวผู้สร้าง microsporangia อยู่บนกิ่งสั้นๆ (spur shoots) เรียกโครงสร้างนี้ว่า male cone ต้นตัวเมียสร้างสร้าง megasporangia ภายในมี ovules ซึ่งจะเจริญต่อไปเป็นเมล็ด การถ่ายละอองเรณูเกิดเมื่อมีลมพัด pollen grain ตกลงบน megasporangia และ ไข่ได้รับการผสมเมื่อเจริญเต็มที่ ส่วนของเปลือกหุ้มเมล็ดชั้นนอกสุดจะนุ่มเละและสลายไปและมีกลิ่นเหม็นหืนเนื่องจากมีจำพวกกรดบิวตาลิก แป๊ะก๊วยมีประโยชน์ ส่วนเมล็ดนำมาสกัดหรือรับประทานป้องกันโรคความจำเสื่อม (Alzheimer) นอกจากนี้ยังนำมารักษาโรคอื่นๆ โรคหืด โรคภูมิแพ้ และบรรเทาอาการไอ ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น สารสกัดจากใบแป๊ะก๊วยช่วยรักษาความสมบูรณ์ของ ผนังเส้นเลือดฝอย นำไปใช้ในผู้ป่วยที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ในประเทศจีนถือว่าแป๊ะก๊วยเป็นไม้มงคลด้วย

แป๊ะก๊วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น