วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ไฟลัมไบรโอไฟตา(phylum bryophyta)


                                                                                   

                ไฟลัมไบรโอไฟตา(phylum  bryophyta)  เรียกโดยทั่วไปว่า ไบรโอไฟต์ (bryophyte) มีทั้งสิ้นประมาณ 16,000 ชนิด พืชในดิวิชันนี้มีขนาดเล็ก มีโครงสร้างง่าย ๆ ยังไม่มีราก ลำต้นและใบที่แท้จริง ชอบอาศัยอยู่ตามที่ชุ่มชื้น การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศยังต้องอาศัยน้ำสำหรับให้สเปิร์มที่มีแฟลกเจลลา (flagella) ว่ายไปผสมกับไข่ ต้นที่พบเห็นโดยทั่วไปคือแกมีโทไฟต์ (มีแกมีโทไฟต์เด่น) รูปร่างลักษณะมีทั้งที่เป็นแผ่นหรือแทลลัส (thallus) และคล้ายลำต้นและใบของพืชชั้นสูง (leafy form) มีไรซอยด์ (rhizoid) สำหรับยึดต้นให้ติดกับดินและช่วยดูดน้ำและแร่ธาตุ มีส่วนคล้ายใบ เรียก phylloid และส่วนคล้ายลำต้นเรียกว่า cauloid แกมีโทไฟต์ของไบรโอไฟต์มีสีเขียวเพราะมีคลอโรฟิลล์สามารถสร้างอาหารได้เอง ทำให้อยู่ได้อย่างอิสระ เมื่อแกมีโทไฟต์เจริญเต็มที่จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์คือสเปิร์มและไข่ต่อไป ภายหลังการปฏิสนธิของสเปิร์มและไข่จะได้ไซโกตซึ่งแบ่งตัวเจริญต่อไปเป็นเอ็มบริโอและสปอร์โรไฟต์ตามลำดับ สปอโรไฟต์ของ ไบรโอไฟต์มีรูปร่างลักษณะง่าย ๆ ไม่สามารถอยู่ได้อย่างอิสระจะต้องอาศัยอยู่บนแกมีโทไฟต์ตลอดชีวิต พืชในดิวิชันนี้สร้างสปอร์เพียงชนิดเดียว

จำแนกพืชในดิวิชันไบรโอไฟตาได้เป็น 3 คลาส (Class)   ดังต่อไปนี้                                                    
           1.คลาสเฮปาทิคอปซิดา (Class Hepaticopsida) เรียกโดยทั่วไปว่า ลิเวอร์เวิร์ต (liverwort) มีอยู่ประมาณ 6,000 ชนิด แกมีโทไฟต์มีทั้งที่เป็นแทลลัส (thalloid liverwort) และที่คล้ายคลึงกับลำต้นและใบ (leafy liverwort) สปอโรไฟต์มีส่วนประกอบเป็น 3 ส่วน คือ ฟุต (foot) เป็นเนื้อเยื่อที่ฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อแกมีโทไฟต์เพื่อทำหน้าที่ดูดอาหารมาใช้ ก้านชูอับสปอร์ (stalk หรือ seta) และอับสปอร์ (sporangium หรือ capsule) ที่ทำหน้าที่สร้างสปอร์ ตัวอย่างของลิเวอร์เวิร์ตที่เป็นแทลลัส ได้แก่ Marchantia และที่มีลักษณะคล้ายลำต้นและใบ ได้แก่ Porella แกมีโทไฟต์ของ Marchantia มีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นแผ่นแบนราบ ตนอหลายแตกแขนงเป็น 2 แฉก (dichotomous branching) ด้านล่างของเทลลัสมีไรซอยด์ ด้านบนมักพบโครงสร้างที่มีรูปร่างคล้ายถ้วย เรียกว่า เจมมา คัป (gemma cup) ภายในเนื้อเยื่อเจมมา (gemma) อยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งเมื่อแต่ละเจมมาหลุดออกจากเจมมาคัปแล้ว สามารถเจริญแกมีโทไฟต์ต้นใหม่ได้ นับเป็นการสืบพันธุ์แบบไม่ อาศัยเพสแบบหนึ่งนอกเหนือไปจากการแยกออกเป็นส่วน ๆ (fragmentation) สเปิร์มและไข่ถูกสร้างขึ้นในอวัยวะที่มารวมกลุ่มเป็นโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นก้านชูที่เจริญอยู่บนแกมีโทไฟต์                                                               
            2.คลาสแอนโทเซอรอปซิดา (Class Anthoceropsida) เรียกโดยทั่วไปว่า ฮอร์นเวิร์ต (hornwort) ไบรโอไฟต์ในดิวิชันนี้มีจำนวนไม่กี่ชนิด ตัวอย่างเช่น Anthoceros แกมีโทไฟต์มีลักษณะเป็นแทลลัสขนาดเล็ก รูปร่างค่อนข้างกลมมน ที่ขอบมีรอยหยักเป็นลอน ด้านล่างมีไรซอยด์ สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแยกออกเป็นส่วน ๆ เช่นเดียวกับพวกลิเวอร์เวิร์ต ต้นสปอไรไฟต์มีรูปร่างเรียวยาว ฝังตัวอยู่ด้านบนของแกมีโทไฟต์ ประกอบไปด้วยฟุต และอัปสปอร์ขนาดยาว ซึ่งเมื่อเจริญเต็มที่ ปลายของอับสปอร์จะค่อย ๆ แตกออกเป็น 2 แฉก ทำให้มองดูคล้ายเขาสัตว์ จึงเรียกว่าฮอร์นเวิร์ต                                                                                             
            3.คลาสไบรออฟซิดา (Class Bryopsida) เรียกโดยทั่วไปว่า มอส (moss) เป็น ไบรโอไฟต์กลุ่มที่มีมากที่สุด คือประมาณ 9,500 ชนิด ต้นแกมีโทไฟต์มีขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายลำต้นและใบ ส่วนที่คล้ายใบเรียงตัวเป็นเกลียวโดยรอบส่วนที่คล้ายลำต้น มีไรซอยต์อยู่ในดิน สปอโรไฟต์มีลักษณะง่าย ๆ เกิดบนปลายยอดหรือปลายกิ่ง มีส่วนประกอบคือ ฟุต ก้านชูอับสปอร์ และอับสปอร์ 
            ต้นแกมีโทไฟต์มีลักษณะคล้ายใบที่เรียงเวียนรอบแกนกลาง ต้นสปอร์โรไฟต์มีอับสปอร์ซึ่งมีโครงสร้างพิเศษช่วยในการกระจายสปอร์หรือมีช่องเปิดเพื่อกระจายสปอร์  ตัวอย่างเช่น  มอส 
พืชกลุ่มนี้ไม่มีท่อลำเลียง เป็นพวกที่นับว่าอยู่กึ่งกลางระหว่างสาหร่ายและพืชที่มีท่อลำ(vascular plant) โดยเชื่อกันว่าไบรโอไฟต์(bryophyte : เป็นชื่อเรียก พืชในดิวิชันไบรโอไฟตา)  มีวิวัฒนาการมาจากพวกสาหร่ายสีเขียวที่มีลักษณะเป็นสาย (filamentous form) โดยมีเหตุผลประกอบคือ
1.โพรโทนี(Protonema) ซึ่งเป็นต้นอ่อนของระยะแกมมีโทไฟต์มีลักษณะเป็นสาย เช่นเดียวกับสาหร่าย
2.มีผนังเซลล์เป็นสารพวกเซลล์ลูโลสเช่นเดียวกัน
3.มีอาหารสะสมเป็นแป้ง(starch) เช่นเดียวกัน
4.มีคลอโรพลาสต์ประกอบด้วยคลอโรฟิลล์เอ และคลอโรฟิลล์บีเหมือนกัน
5.แกมีทหรือเซลล์สืบพันธุ์มีแฟลเจลลาช่วยในการเคลื่อนที่เหมือนกัน
ลักษณะสำคัญของไบรโอไฟต์
ก.เป็นพืชที่ยังไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียงทั้งท่อน้ำ(xylem) ท่ออาหาร (phloem)
ข.เป็นพืชขนาดเล็กส่วนใหญ่ชอบขึ้นในที่มีอากาศเย็นและมีความชื้นสูง    เพราะการสืบพันธุ์ของพืชกลุ่มนี้ต้องอาศัยน้ำหรือความชื้นเป็นตัวกลางในการเคลื่อน    ที่ของสเปิร์มเพื่อไปปฏิสนธิกับไข่ในบางชนิด อาจใช้ความชื้นน้อยมาก    เช่นความชื้นจากน้ำค้าง   
                   พืชในกลุ่มนี้ได้แก่มอสมีสมาชิกมากที่สุดในกลุ่มพืชไม่มีท่อลำเลียง สามารถเจริญได้ทั่วไป เช่น ตามเปลือกไม้ พื้นดิน ก้อนหิน Gametophyte  มอสมีวงชีวิตแบบสลับ โดยมีระยะแกมมีโตไฟต์เด่นกว่าสปอร์โรไฟต์ ดังนั้นต้นที่พบทั่วไป   จึงเป็นต้นแกมมีโตไฟต์ซึ่งมีสีเขียว อัดตัวกันแน่นคล้ายพรหม ไม่มีใบ ลำต้นและรากที่แท้จริง แต่มีส่วนที่คล้ายลำต้นและใบมาก มี Rhizoid ทำหน้าที่ยึดกับพื้นดินหรือวัตถุที่เจริญ มอสที่พบตามธรรมชาติ  Gametophyte และ sporophyte ของมอสบางชนิด ลักษณะของ Gametophyte ภาพตัดตามขวางของส่วนที่คล้ายลำต้นของมอส ซึ่งไม่พบท่อลำเลียง  Sporophyte
                   สปอร์โรไฟต์อาศัยอยู่บนแกมมีโตไฟต์ตลอดชีวิต ประกอบด้วยส่วนสำคัญ คือ foot ใช้ยึดกับแกมมีโตไฟต์ stalk เป็นก้านชู ยาวและcapsule ส่วน capsule เป็นส่วนที่มีความสำคัญ ที่สุด มีฝาเปิดหรือoperculum อยู่ด้านบน และจะเปิดออกเมื่อแคปซูลแก่ operculum จะถูกห่อหุ้มด้วย calyptra เป็นเยื่อบางๆ ช่วยป้องกันอันตรายให้กับ capsule แต่มักจะหลุดไปเมื่ออายุมากขึ้น ถัดจาก operculum จะเป็นเนื้อเยื่อที่มีการสร้าง spore เซลล์ในชั้นนี้แบ่งตัวแบบไมโอซิสได้สปอร์ เมื่อสปอร์โรไฟต์แก่ operculum จะเปิดให้เห็น peristome teeth ลักษณะคล้ายซี่ฟัน มีคุณสมบัติไวต่อความชื้น (hygroscopic) เมื่ออากาศแห้ง ความชื้นในอากาศน้อย peristme teeth จะกางออก  ทำให้ดีดสปอร์ออกมาด้วย และจะม้วนตัวเข้าไปภายใน capsule เมื่อความชื้นในอากาศมาก เมื่อสปอร์ตกไปในที่ๆมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ก็จะงอกได้ทันที ซึ่งจะงอกเป็นเส้นสาย สีเขียวที่เรียกว่า protonema ลักษณะคล้ายสาหร่ายสีเขียวมาก 

ภาพมอส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น