วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ไฟลัมเทอโรไฟตา (Phylum Pterophyta)


                                                                                  

               พืชไฟลัมนี้มีชื่อทั่วไปว่า เฟิร์น (fern) มีจำนวนมากที่สุดในบรรดาพโรไฟต์ของเฟิร์นมีราก ลำต้นและใบเจริญดี เฟิร์นส่วนใหญ่มีลำต้นใต้ดิน ใบของเฟิร์นเรียกว่า ฟรอนด์ (frond) เป็นส่วนที่เห็นเด่นชัด มีขนาดใหญ่เป็นใบแบบเมกะฟิลล์ (megaphyll) มีรูปร่างลักษณะเป็นหลายแบบ มีทั้งที่เป็นใบเดี่ยว ( simple leaf ) และใบประกอบ ( compound leaf ) ใบอ่อนของเฟิร์นมีลักษณะพิเศษคือ จะม้วนเป็นวง (circinate venantion) สปอโรไฟต์ที่เจริญเต็มที่จะสร้างอับสปอร์ ซึ่งมารวมกลุ่มอยู่ที่ด้านได้ใบ แต่ละกลุ่มของอับสปอร์เรียกว่า ซอรัส (sorus) เฟิร์นส่วนใหญ่สร้างสปอร์ชนิดเดียว ยกเว้นเฟิร์นบางชนิดที่อยู่ในน้ำ และที่ชื้นแฉะ ได้แก่ จอกหูหนู แหนแดง และผักแว่นมีการสร้างสปอร์ 2 ชนิด  แกมีโทไฟต์ของเฟิร์นที่สร้างสปอร์ชนิดเดียว มีลักษณะเป็นแผ่นแบนบางสีเขียว (มีคลอโรฟิลล์) ด้านล่างมีไรซอยด์ ส่วนใหญ่มักมีรูปร่างคล้ายรูปหัวใจ ( prothallus )

-มีราก ลำต้น ใบที่แท้จริง
-ใบมีขนาดใหญ่เป็นใบเดี่ยวหรือใบประกอบ ใบอ่อนจะม้วนจากปลายใบมายังโคนเป็นวง
-ระยะสปอร์โรไฟต์ จะมีกลุ่มอับสปอร์อยู่ใต้ท้องใบเรียกว่า Sorus
-ระยะแกมีโตไฟต์ จะมีลักษณะเป็นแผ่นสีเขียวบางๆ คล้ายรูปหัวใจเรียกว่า Prothallus

              ตัวอย่างของพืชกลุ่มนี้ได้แก่ หวายทะนอย หญ้าถอดปล้องและเฟิน                                                                                                   
              หวายทะนอย(Psilotum sp.) เดิมเชื่อว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตเพราะมีลักษณะคล้ายซากดึกดำบรรพ์ของพืช คือ ไม่มีรากไม่มีใบถ้ามีใบจะมีขนาดเล็กมาก มีการแตกกิ่งเป็นคู่ แต่เมื่อมีการศึกษาเปรียบเทียบลำดับเบส DNA และโครงสร้างอับสปอร์แล้วพบว่าหวายทะนอยมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับพืชในกลุ่มหญ้าถอดปล้อง                                                                                                                                                    
              หญ้าถอดปล้อง(Equisetum spp.) เป็นกลุ่มพืชที่ลำต้นมีข้อปล้องชัดเจน มีทั้งลำต้นตั้งตรงบนดินและลำต้นใต้ดิน เรียกว่า ไรโซม(rhizome) ลำต้นตั้งตรงบนดินมีสีเขียวเป็นสัน ใบขนาดเล็ก มีเส้นใบเพียง 1 เส้น เรียงเป็นวงรอบข้อ อับสปอร์เกิดเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง เรียกว่า สโตรบิลัส(strobilus) และสร้างสปอร์ที่มีขนาดเดียว                                                                                                                                                                              
               เฟิร์น (fern) เริ่มมีการแพร่กระจายตั้งแต่ยุคดีโวเนียนจนถึงปัจจุบันพบประมาณ 12,000 สปีชีส์ พืชกลุ่มนี้มีราก ลำต้น และใบที่แท้จริงโดยมีเส้นใบที่แตกแขนง ลักษณะที่พบทั่วไปคือ ใบอ่อน ม้วนจากปลายใบสู่โคนใบ ใบของเฟินมีหลายขนาด อาจเป็นใบเดี่ยว หรือใบประกอบ เฟินจะสร้างอับสปอร์รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า  ซอรัส (sorus) อยู่ทางด้านล่างของแผ่นใบ ซึ่งมีรูปร่างแตกต่างกันและใช้จำแนกชนิดของเฟินได้ เฟินส่วนใหญ่สร้างสปอร์ที่มีขนาดเดียว ยกเว้นเฟินน้ำบางสกุลสร้างสปอร์ที่มีขนาดต่างกัน ตัวอย่างของเฟิน ได้แก่เฟินใบมะขาม เฟินก้านดำ ข้าหลวงหลังลาย ชายผ้าสีดา ย่านลิเภา แหนแดง จอกหูหนู ผักแว่น กูดเกี๊ยะ เป็นต้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น